ทีดีอาร์ไอเผย 4 อุปสรรคขออนุญาตก่อสร้างใน กทม. ไม่เร็ว-ไม่ชัด-ไม่เชื่อม-ไม่ทันสมัย

ทีดีอาร์ไอเผย 18

ในช่วงที่ประเทศไทยกำลังต้องการการพัฒนาเพื่อยกระดับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้นไปอีกระดับเช่นในปัจจุบัน

ข่าวเศรษฐกิจ  การลงทุนก่อสร้างของภาคเอกชนไทย ถือเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนหลักที่สำคัญโดยตั้งแต่ปี 2560-2564 ภาคเอกชนมีการลงทุนก่อสร้าง คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยสูงถึง 550,000 ล้านบาท หรือเป็นสัดส่วนเฉลี่ย 3.4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)ขณะที่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือ กทม. ที่เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศเป็นอย่างมาก มีการลงทุนของภาคเอกชนด้วยมูลค่าหลักแสนล้านบาทต่อปี และส่วนใหญ่เป็นงานก่อสร้างที่พักอาศัย จากสถิติพบว่า กทม.พิจารณาออกใบอนุญาตก่อสร้างและดัดแปลงอาคารไม่น้อยกว่า 16,000 รายต่อปี แต่การขออนุญาตก่อสร้างใน กทม. กลับมีปัญหาอุปสรรคอยู่มาก และต้องการการทบทวนเพื่อลดขั้นตอนต่างๆให้สะดวกมากขึ้นขณะเดียวกัน ในปี 2564 การจัดอันดับประเทศที่มีความสะดวกสบายในการขออนุญาตก่อสร้างของธนาคารโลก ได้จัดไทยไว้ที่อันดับ 34 จากทั้งหมด 190 ประเทศ แต่คะแนนประเมินของไทยกลับต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ซึ่งถูกจัดอยู่อันดับ 2 อันดับ 5 และอันดับ 25 ตามลำดับและจากข้อมูลธนาคารโลกข้างต้น

ทีดีอาร์ไอเผย 18

“สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย” (ทีดีอาร์ไอ) ร่วมกับ “องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)”

ข่าวเศรษฐกิจ  ศึกษาวิจัยกฎระเบียบ : การอนุญาตก่อสร้างของกรุงเทพมหานคร และจัดเวทีสัมมนาสาธารณะเพื่อนำเสนอผลการศึกษาเรื่อง “การกิโยตินกฎระเบียบ : การอนุญาตก่อสร้างของกรุงเทพมหานคร” หลังพบ 4 ปัญหาใหญ่ที่ทำให้การขออนุญาตก่อสร้างในกทม.ล่าช้า รวมทั้งได้เสนอแนะ 4 ทางออกในการแก้ปัญหาโดยเสนอแนวทางดำเนินงานให้กับ กทม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ซึ่งงานนี้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” เห็นด้วยกับผลการศึกษา และรับที่จะนำข้อเสนอแนะไปพิจารณาดำเนินการ เพราะเล็งเห็นถึงเป็นประโยชน์และประสิทธิภาพที่จะเกิดขึ้นทั้งนี้ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ผลการศึกษาของทีดีอาร์ไอ พบว่า มีปัญหาความไม่ชัดเจนของกฎระเบียบบางประการ ที่ทำให้เจ้าหน้าที่อาจใช้ดุลพินิจในการพิจารณาอนุญาตเกินสมควร ปัญหาการเข้าถึงข้อมูล กฎระเบียบ ขั้นตอนและเอกสารการขออนุญาต ที่ประชาชนเข้าถึงและทำความเข้าใจด้วยตนเองได้ค่อนข้างยาก อีกทั้งปัญหาความล่าช้าในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพมาตรฐานความปลอดภัยของโครงการก่อสร้าง เหตุจากเจ้าหน้าที่รัฐ มีจำนวนจำกัด นอกจากนี้ ระยะเวลาการพิจารณาออกใบอนุญาตก่อสร้าง ยังไม่ได้จำแนกตามความเสี่ยงอาคาร รวมไปถึง กทม.ยังไม่มีหน่วยให้บริการแบบครบวงจร“กทม.ควรเร่งปรับกระบวนการขออนุญาตก่อสร้าง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนได้ถึง 1,252 ล้านบาทต่อปี”“ทีมเศรษฐกิจ” เห็นว่า ผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์แก่ทั้งภาครัฐและประชาชน หากสามารถลดงาน ลดเวลา ลดขั้นตอน และลดต้นทุนให้แก่ภาคเอกชนและประชาชน ขณะที่ยังรักษามาตรฐานการกำกับดูแลความมั่นคงปลอดภัยของอาคารได้ เพราะ กทม.เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การก่อสร้างอาคารสำนักงานและที่อยู่อาศัยมากมายทั้งนี้ จากการศึกษากฎระเบียบการอนุญาตก่อสร้างของ กทม. ทีดีอาร์ไอได้จำแนกเป็น 4 ปัญหาหลัก ได้แก่1.ไม่เร็ว : การขออนุญาตใช้เวลานาน ผลการสำรวจของทีดีอาร์ไอ พบว่า โดยเฉลี่ยผู้ขออนุญาตใช้เวลาประมาณ 67 วัน เกินกว่าระยะเวลาขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด คือ 45 วันโดยเป็นความล่าช้าที่เกิดจากการสืบค้นข้อมูลเอกสารหรือขั้นตอนการขออนุญาต และการเตรียมเอกสารประกอบการพิจารณาขออนุญาต เอกสารบางฉบับผู้ยื่นคำขอ จำเป็นต้องติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น สำนักงานที่ดิน สภาวิชาชีพ ฯลฯ กระบวนการตรวจสอบเอกสารหรือแบบแปลนอาคาร ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่เจ้าหน้าที่จะต้องใช้เวลาพิจารณา บางกรณีอาจต้องแก้ไขแบบแปลนหลายรอบ การรอเจ้าหน้าที่ลงตรวจสอบสถานที่ก่อสร้าง ทั้งช่วงก่อนการก่อสร้าง ระหว่างก่อสร้าง และก่อนการเปิดใช้อาคาร ซึ่งมักใช้เวลานานเนื่องจากนายช่าง/ นายตรวจมีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับปริมาณคำขออนุญาตก่อสร้างจากปัญหาความล่าช้าเหล่านี้ ส่งผลให้ผู้ขออนุญาตต้องแบกรับต้นทุนค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้นจากเวลาที่ต้องใช้ในการติดต่อหน่วยงานต่างๆ ทำให้เสียประโยชน์จากการเปิดใช้อาคารล่าช้า รวมทั้งเพิ่มต้นทุนจากดอกเบี้ยสินเชื่อจากการกู้ยืมเพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคาร!!2.ไม่ชัด : กฎหมายไม่ชัดเจน เกิดการตีความที่แตกต่างกัน โดยการพิจารณาหรือการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ จะขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจของแต่ละท่าน

แนะนำข่าวเศรษฐกิจ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : ขนส่งเปิดชื่อ 23 เพจโกง อย่าหลงเชื่อทำใบขับขี่ออนไลน์ปลอม!